ขนาดของสินทรัพย์ และสมมติฐานของ Bitcoin
ขนาดของสินทรัพย์และความมั่งคั่งของเศรษฐีที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่าง เจฟ ปู่บัพ และมาร์ค ณ กรกฎาคม 2019
ถ้าจะให้ขยายความจากภาพนี้ มีสมมติฐานนึงที่น่าหยิบยกกมาเล่าคือ Marketcap ของ Crypto currency และ Bitcoin
สมมติฐานที่ Bitcoin พยายามนำเสนอนั่นคือ สร้างได้จำกัด ไม่มีใครควบคุมได้ Transaction มีที่มาที่ไป(แต่ไม่รู้ว่าบัญชีไหนเป็นของใครเท่านั้นเอง)
แต่ใน Layer1 ยังมีปัญหาเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม และการทำ Micro Payment ซึ่งถูกแก้ไขใน layer 2(Lightning) หลายคนเลยมองว่าคุณสมบัติเหล่านี้เหมาะที่จะมาแทนที่ทองคำ
Value of Replacement
จึงเกิดสมมติฐานว่า ถ้าสามารถแทนที่ได้จริงมูลค่าของ bitcoin จะมีมูลค่าเท่าไหร่จากจุดเริ่มต้นที่ Satoshi Nagamoto ได้ตั้งไว้ว่าจำนวน Bitcoin จะมีได้เพียง 21 ล้านเหรียญ และจะถูกขุดออกมาหมดในปี 2140 ถ้าคิดแบบตรงไปตรงมา เราจะคำนวณมูลค่าของ
1 bitcoin = 7.8 T/21M = $371,428
ราว 11.33 ล้านบาท
ณ Rate $1 = 30.50 บาท และทองมูลค่า 7.8 T
ปัจจุบันถูกปลดออกมาแล้ว 17.78 ล้านเหรียญ
แต่นั่นคือ”สมมติฐาน” ที่หลายคนจินตนาการ จึงทำให้เกิดการเก็งกำไรและเหวี่ยงของราคาอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันมาก
Cost of Production
การคำนวณ”ต้นทุนในการผลิต”ก็เป็นการมองต้นทุนอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่ง bitcoin ใช้วิธีการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ผ่านการ Hashing
ต้นทุนในการขุด bitcoin ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักในการขุดเช่น การ์ดจอ และค่าไฟราคาของการ์ดจอแต่ละที่ไม่แตกต่างกันมากนะ เพราะมีราคากลาง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการนะเวลาและสถานที่นั้นๆ
1-2 ปีก่อนเราจึงได้เห็นราคาการ์ดจอพุ่งขึ้นไปสูงมากเพราะมีความต้องการใช้ในการขุดนี่เอง
ตัวแปรถัดมาที่แตกต่างและมีผลคือ “ค่าไฟ”
มีการประมาณการกันว่าต้นทุนในการขุด bitcoin ในประเทศไทยที่ผ่านมานั้นต้นทุนอยู่ที่ราว 5,000 ถึง 7,000 บาทในต้นปี 2018 (ขึ้นกับการปรับแต่ง หรือขุดเหรียญอื่นมาแปลงอีกทอด)
และมีข่าวว่าในประเทศจีนหรือบริเวณที่สามารถสังเคราะห์พลังงานได้ ยิ่งจะมีต้นทุนในการขุดถูกลงไปอีกถึงนะดับ 3,000 บาทในปีก่อน
ต้นทุนในการขุด จะเป็นฐานที่คอยค้ำส่วนหนึ่งทีทำไม่ให้ราคาตกลงไปได้เป็นเวลานานมากกว่านี้ ไม่อย่างนั้นก็คงไม่มีใครอยากขุด
ความยากในการขุด bitcoin จะแปรผันตามค่าที Difficulty ซึ่งแปรผันตามค่าHashing Power ซึ่งจะมีการเพิ่มขึ้นทุกๆ 2 สัปดาห์
ผมเคยทำการเก็บข้อมูลแล้วพบว่าความยากในการขุดเพิ่มขึ้นราว 6-7 เท่าภายใน 1 ปี(ขึ้นอยู่กับแรงขุดที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงเวลาด้วย)
เมื่อต้นทุนในการขุด หรือซื้อ ณเวลาต่างๆ นั้น แตกต่างกันมาก คนที่เคยขุดหรือซื้อเมื่อหลายปีก่อนมีต้นทุนต่ำกว่ามาก
เพราะเหตุทางสมการที่อธิบายขั้นต้นจึงทำให้เกิดการเทขายทำกำไรได้ง่ายกว่าสินทรัพย์อื่น
ในภาษาทางเศรษฐศาสตร์เราจะเรียกภาวะที่มีว่าภาวะเงินฝืด เพราะมีจำนวนเหรียญในระบบน้อยเกินกว่าความต้องการที่จะซื้อหรือขายในช่วงเวลานั้นๆ
คิดภาพคนกระโดดลงไปในสระน้ำ แรงกระเพื่อมก็จะเยอะ
แต่เมื่อสระใหญ่ขึ้นตามจำนวนคนที่เข้ามามีส่วนร่วม จากสระกลายเป็นมหาสมุทร ความกระเพื่อมของคนที่กระโดดลงไปก็จะลดน้อยลง
และนี่คือสมมติฐานที่ดำเนินอยู่
คำเตือน บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชักชวนในการให้ลงทุน เพียงแต่บอกเล่าที่มาที่ไป ตามที่ผู้เขียนศึกษามา เพื่อให้เข้าใจสมมุติฐานที่ดำเนินอยู่