shaen-021-lotusปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการ ประเมิณมูลค่าหุ้นผ่านกำไร (P/E,PEG)ที่ทำได้ในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งมันก็อาจจะใช้ได้ในกรณีที่ บริษัทมีกำไรค่อนข้างสม่ำเสมอ
คำถาม แล้วถ้าอย่างนั้น แปลว่าบริษัทเค้าแทบไม่มีค่าเลยเหรอ แล้วเราจะตีมูลค่ายังไงละ

ถ้าในเชิง  Start-up ที่ผมเคยมีประสบการณ์มาระดับนึง ในช่วงแรก Start-up จะไม่มีกำไรเลย แต่ทำไมถึงมูลค่ามหาศาล ก็เพราะเค้าจะใช้วิธีดูยอดรายได้ ,จำนวนคนใช้ แล้วคำนวณหาโอกาสไปในอนาคตว่า บริษัทจะมี MarketShare สักเท่าไหร่ แล้วค่อย Discount กลับมา แต่หลังๆวิธีนี้ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะจำนวนคนใช้งานถูกปั่นได้ง่ายในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนจะถลำไปมากกว่านี้ กลับมาประเด็นที่จะเขียนก่อน ถถ

การเปรียบเทียบมูลค่าผ่านยอดขายเลยเป็นอีกทางเลือกนึงที่สะท้อนภาพได้ชัดกว่า โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในช่วงพลิกฟื้น มีการเปลี่ยนแปลง/ก่อตั้งธุรกิจใหม่ หรืออยู่ในช่วงการลงทุนหนักๆ เมื่อผ่านพ้นช่วงนี้มาได้แล้วค่อยๆดีขึ้น รายได้ที่เพิ่มขึ้น จะไหลเป็นกำไรในอัตราที่เร็วกว่า

“Market-cap” สะท้อนความคาดหวัง มุมของตลาดต่อบริษัท
“Sale” คือความสามารถในการขานของบริษัทที่มีต่อผบภ จริงๆ

ถ้า “ความคาดหวัง/ความจริง” ยังไม่สูงแต่มีแนวโน้มที่ดี ก็น่าสนใจจะไปแงะต่อ

ลองดูตัวอย่างให้เห็นภาพ บริษัท A และ B เติบโตเท่ากัน 15%
ค่าใช้จ่ายในการขายเป็น ตัวแปรที่ขึ้นกับยอดขาย
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (โครงสร้างอยู่ตัวแล้ว) มักจะคงที่

screen-shot-2560-01-26-at-12-01-45-am

ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นคือ เมื่อยอดขายยังปริ่มๆ Fix Cost กำไรมันจะดูบางมากๆ แต่ที่เมื่อไหร่ ยอดขายเพิ่มขึ้นจนพ้น Fix Cost เราจะได้เห็นหลายบริษัทที่มี”กำไรโตกว่ารายได้แบบก้าวกระโดด”

ถ้าเราลงทุนในบริษัท A เราจะได้กำไร 32.73% ในเวลา 1 ปี ซึ่งมันก็ดีนะ
แต่ถ้าเลือกลงทุนในบริษัท B เรามีโอกาสได้กำไร 154.29% และเพิ่มเป็น 331.71% ในปีที่ 2

ข้อสังเกต : ลองเปรียบเทียบการเติบโตของ รายได้ ,NPM และ Mkcap/Sale เทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน แล้วหาบริษัทที่มี Mkcap/Sale ที่ไม่สูง แต่มีแนวโน้มของรายได้ กำไรที่เพิ่มขึ้น คุณอาจค้นพบโอกาสที่ดีมากๆในการลงทุน

021 : หุ้นบัวปริ่มน้ำ กำไรโตกว่ารายได้
Tagged on:

ใส่ความเห็น