สืบเนื่องจากกรณี “Brexit” และผลออกมาเป็นที่อย่างที่ทราบกันว่า UK จะออกจาก EURO ไปแบบพลิกความคาดหมายจากตอนต้น ไปด้วยคะแนน(ที่มองจากภาพใหญ่) ไม่ได้ทิ้งห่างกันมากนัก

Screen Shot 2559-06-26 at 11.26.33 AM(Picutre : Telegraph)

ทำให้มีชางอังกฤษบางส่วนแห่กันร่วมลงชื่อในเวปของรัฐสภาอังกฤษกว่าล้านคน (ปกติเกินหนึ่งแสนก็ต้องรับเรื่องแล้ว)
ซึ่งให้รัฐบาลออกระเบียบใหม่ว่า หากผลการนับคะแนนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกมาต่ำกว่า60% จากจำนวนผู้ลงคะแนนที่เดินทางมาใช้สิทธิต่ำกว่า 75% ของผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมด รัฐบาลควรดำเนินการจัดทำประชามติใหม่อีกครั้ง


By Saturday morning (local time) the signature had over 2.4 million signatures.

ความเห็นส่วนตัว เรื่องใหญ่ที่มีผลขนาดนี้ ควรจะเปิดโอกาสให้มีการชี้แจงผลของการตัดสินใจทั้งสองด้านแบบลึกซึ้งมากๆ และเสียงส่วนใหญ่ที่จะมีผล ควรจะห่างกันขาดมากกว่านี้ ถ้าคะแนนยังห่างกันไม่มากพอ ก็ควรดีเบต ให้ข้อมูลกัน แล้วลงมติกันใหม่ไปเรื่อยๆ อาจจะดูเยิ่นเย้อ แต่ถ้าตัดสินใจเรื่องใหญ่ ด้วยคะแนนห่างกันไม่มาก ด้วยเพียงแต่ยึดเสียงข้างมาก มักจะมีปัญหาใต้น้าเกิดขึ้นในระยะยาว

หัวข้อที่เค้าใช้ดีเบตกัน
brexit-debate

ถ้าลองมาแยกเสียงโหวตจากแต่ละช่วงอายุ ก็สะท้อนอะไรได้หลายอย่าง
คนที่อายุมากกว่า 50 ปี สนับสนุนให้ออก กลับกันคนที่อายุน้อยกว่า 50 มีแนวโน้มให้อยู่ต่อ
brexit-age

ทำให้นึกถึงหนังที่พูดถึงผลและวิธีของการตัดสินใจอย่างเรื่อง 12 Angry Men(1957)
เป็นเรื่องของคดีฆาตกรรมที่ดูเหมือนถ้าตัดสินกันด้วยเสียงข้างมาก ก็จะจบง่ายมาก
เพราะเสียงข้างมากชี้ไปที่จำเลยผิด 11:1

12AngryMen

แต่มีลูกขุนคนเพียงคนเดียวที่ไม่ปักใจเชื่อ แล้วใช้เหตุผลพูดคุย
ตั้งคำถามในอีกแง่มุมถึงความเป็นไปไปได้ มีการถกเถียง
ด้วยเหตุผลและอารมณ์ กันทั้งเรื่อง

สุดท้าย เมื่อใช้เวลากันมากขึ้น ในแง่มุมต่างๆ
ลูกขุนทุกคนลงมติเป็นเอกฉันท์ ด้วยผลที่ต่างไปจากเดิม

หนังทั้งเรื่องถูกฉายอยู่แค่ห้องเดียว
แต่สิ่งที่ทำให้หนังเอาอยู่คือ เนื้อหาและมุมมอง


ผลลัพธ์นั้นสำคัญ
แต่วิธีที่ให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์
อาจจะสำคัญยิ่งกว่า

Shaen.net

015 : Brexit & 12 Angry Men
Tagged on:     

ใส่ความเห็น