shaen-014-urban-hospital
ภรรยาผมเพิ่งคลอดลูกไปเมื่อเดือนก่อน ที่รพ ในเมืองแห่งนึง
(แน่นอนว่า ผมไม่มีสิทธิ์เลือก รพ ถถ) คชจในการผ่าคลอด แสนทอนร้อย !
แต่บริการเค้าก็ดีจริงๆแหละครับ

พอมีลูก คอนโดที่อาศัยอยู่ ก็ดูอึดอัดไป ก็เลยกลับมาอยู่บ้านชานเมืองอีกครั้ง
ได้มีโอกาสแวะกลับไปที่รพ ชานเมืองใกล้บ้าน ก็พบโฆษณาแพ๊กแกจคลอดของรพ.
แล้วก็พบว่า คชจ ในการคลอดทั้งคลอดธรรมชาติและผ่าตัดคลอดนั้น มันแตกต่างกันมาก..เป็นเท่าตัว
ค่าคลอดธรรม 35,000 ผ่าคลอด 5

ผมเข้าใจว่า ด้วยแบรนด์และตำแหน่งทางการตลาดที่วางไว้เป็นคนละเกรด
ยิ่งเป็นการคลอดลูก ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆในชีวิตของคนเป็นพ่อเป็นแม่
ถ้าพอมีฐานะ มีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง อยากได้ความสบายใจ อยากได้ความภูมิใจ
ก็พร้อมที่จะจ่าย

บางรพ ที่ผมได้ยินว่า ขนาดค่าคลอดบางที่ทะลุแสนไปแล้ว แล้วจะปรับขึ้นไปอีก
เพราะคิวยังเต็มตลอด เค้าเลยว่าจะขึ้นราคาเพื่อให้คนหายๆไปบ้าง!
ช่างเป็นอำนาจอันทรงพลังของผู้ประกอบการณ์ซะเหลือเกิน

ประเด็นที่เห็นและคิดเอาเอง คือ เมื่อช่องว่างของราคาการให้บริการยังแตกต่างกันมาก
เมื่อถึงวันนึงที่ รพ ที่มีคชจ ต่ำกว่า จะปรับราคาขึ้นตามบ้าง แต่ก็ยังถูกว่า รพในเมืองมาก
ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และอยู่ในวิสัย สมมติว่า

สมมติถ้ามีการปรับค่าแพกแกจคลอดด้วยเงินพอๆกัน สมมติ 10,000 บาท

รพ ABC ปรับค่ารักษาจาก 100,000 > 110,000 คิดเป็น 10%
รพ XYZ ปรับค่ารักษาจาก 39,000 > 49,000 คิดเป็น 25.64%

เมื่อรายได้เพิ่มจากการปรับราคาขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายของแพทย์ พยาบาลก็เพิ่มขึ้นตาม
แต่ด้วยความชันที่น้อยกว่า (โดยปกติ ปรับขึ้นหรือพอๆหรือเกินเงินเฟ้อนิดหน่อย ปีละ 3-7%)
ซึ่งส่งผลให้กำไรเพิ่มด้วยความชันมากกว่ารายได้มาก นี่ยังนับแค่กำไรบนจำนวนคนไข้เท่าเดิม

แต่ถ้าโตทั้งสองทางจากปรับค่ารักษา และโตจากจำนวนคนรักษาที่เพิ่มขึ้นด้วย
ก็ไม่แน่แปลกใจว่า ทำไมกำไรของรพ ถึงน่าสนใจ ยิ่งถ้าเป็นรพ.ชานเมืองที่มีฐานค่ารักษาต่ำอยู่

ก็แชร์มุมมองที่เห็น ที่เจอมากับตัวตอนนี้ไว้เท่านี้ครับ ^^

แชน
14 มิถุนายน 2559

014 : โรงพยาบาลชานเมือง

ใส่ความเห็น