ช่วงนี้เราได้ยินข่าว อินเดียจะ Boycott ของที่มาจากจีน ไม่ว่าจะเป็น แอพ หรือสินค้า แต่จะบอกว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรมาดูกัน
หากเรามองสัดส่วนดังกล่าว ก็เห็นชัดว่า เป็นเกมที่ใครพึ่งพาใครมากกว่ากัน การทะเลาะกันจึงไม่น่าถึงขั้นแตกหัก เพราะจะมีความสูญเสียในภายหลังมากกว่า
อินเดียนำเข้าจากจีน ทั้งเพื่อใช้และเป็นวัตถุดิบมากกว่าที่ส่งออกไปให้จีนถึง 2.9 เท่า
ซึ่งอินเดียนั้นนำเข้าจากจีนคิดเป็น 14% ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งถือว่าเยอะมากแต่จีนส่งออกไปอินเดียเป็นแค่ 0.7% เพราะจีนนั้นเป็นผู้ผลิตที่ส่งออกไปขายทั่วโลก
การบอยคอตครั้งที่ผ่านๆมาของจีนกับอินเดีย ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2014 จนปัจจุบัน ที่ชัดๆนับได้เป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดนมีรายละเอียดดังตาราง
แต่กลับกลายเป็นว่าที่ผ่านมา ผลลัพธ์มักจบที่อินเดียนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่า ต้องแลกกับมาตั้งโรงงานประกอบ การลงทุน สร้างงานในอินเดีย ให้คนอินเดียนะ โดยใช้ตีม Made in India
การที่จะ Ban ไม่ให้ขาย จึงส่งผลกระทบต่ออินเดียในแง่การจ้างงานของคนในชาติตัวเอง Position และ Feature ของ Xiaomi ก็ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ของอินเดีย ที่เลือกสินค้าจากคุณภาพในราคาที่คุ้มค่า
การ Ban ไม่ให้ขายหรือใช้สินค้าจึงไม่น่าจะเกิดได้ง่ายๆ แบบที่ Application จีนที่เข้ามากลางอากาศ ไม่ได้สร้างงาน สร้างผลประโยชน์ หรือมีส่วนแบ่งให้อินเดียเลย
การที่ออกข่าวมากรณีบอยคอตนั้น ผู้เขียนคิดว่าน่าจะใช้เป็นข้อต่อรองทางธุรกิจมากกว่า
ในครั้งนี้อาจจะจบลงด้วย มีการแบ่งผลประโยชน์กันลงตัว ในแง่มุมอื่นมาแลกเปลี่ยน หรืออาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่อินเดียอยากเป็นผู้เล่นหลักในโลกการค้า
แต่เมื่อดูจากสินค้า บริการ หรือ platform ยังไม่เห็นว่าอินเดียจะเป็นผู้นำ จึงไม่น่าเป็นเรื่องนี้ นอกจากเรื่องข้อตกลงทางการค้าเป็นประเด็นหลัก