ภาพที่เราคุ้นตาเวลาไปเข้าห้องน้ำตามห้างดัง หรือที่สาธารณะคือ ในเวลาเร่งด่วน ห้องน้ำหญิงมักจะมีคิวอยู่ ซึ่งแตกต่างกับห้องน้ำชาย ที่ไม่ค่อยจะมีคิว หรือถ้ามี ก็น้อยกว่าห้องน้ำหญิงค่อนข้างแน่

พฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ

ถ้าเรามาพิจารณาถึงพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ จะเห็นว่า ผู้หญิงไม่ว่าจะทำธุระหนัก/เบา ล้วนต้องทำกิจในห้องน้ำ ซึ่งแตกต่างจากผู้ชาย ที่ถ้าจะเบาก็จัดการในโถได้ ถ้าหนักค่อยเข้าไปในห้องน้ำ ทำให้พื้นที่และเวลาที่ใช้แตกต่างกัน

วันวันหนึ่ง เรามักจะเบาบ่อยกว่าหนัก อยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อใช้ห้องน้ำสาธารณะตอนกลางวัน และเรามักจะหนักเป็นกิจวัตรในตอนเช้า(ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย หรือเหตุสุดวิสัย)

ซึ่ง”ระยะเวลา”ที่ผู้ชายปัสสาวะในโถด้านนอก ย่อมน้อยกว่า เวลาที่ผู้หญิงที่ปัสสาวะในห้องน้ำ (ส่วนเรื่องหนักนี่ ระยะเวลาที่ใช้ของผู้ชายผู้หญิงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก) แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ถ้านับเวลาที่ทำธุระเบาของผู้ชายจะอยู่ที่ 60 วินาที แต่ของผู้หญิง 90 วินาที ที่มากกว่า เพราะต้องเข้าไปในห้องย่อย มีการถอดกางเกง ตามด้วยนั่งลง ซึ่งต่างจากผู้ชายที่ยืน รูดซิบ แล้วทำธุระได้เลย

ห้องน้ำแบบที่เราคุ้นเคย

ห้องน้ำสาธารณะส่วนใหญ่ ห้องน้ำชายและหญิง มักจะมีขนาดใกล้เคียงกัน และแยกทางเข้าอย่างชัดเจน ถ้าห้องน้ำและโถปัสสะถูกจัดวางตามพื้นที่

ห้องน้ำหญิง : 10 ห้อง เวลาคอย 6 นาที 19 วินาที
ห้องน้ำชาย : 2 ห้อง 10 โถ เวลาคอย 11 วินาที

(Pic – Eos Wetenschap )

ทดลองปรับขนาดห้องน้ำ

เมื่อเรารู้ความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาในการใช้แล้ว เราลองมาปรับขนาดให้ห้องน้ำหญิงใหญ่ขึ้นดู

ห้องน้ำหญิง : 13 ห้อง เวลาคอย เหลือ 1นาที 25 วินาที
ห้องน้ำชาย : 2 ห้อง 6 โถ เวลาคอยเพิ่มเป็น 2 นาที 23 วินาที

ห้องน้ำหญิง : 12 ห้อง เวลาคอย 2 นาที 18 วินาที
ห้องน้ำชาย : 2 ห้อง 8 โถ เวลาคอย 40 วินาที

แนวคิดห้องน้ำรวม

มีทฤษฎีนึงเสนอว่า แล้วถ้าไม่มีการแบ่งเพศห้องน้ำล่ะ ใช้รวมกันไปเลย โดยไม่มีโถฉี่ จะพบว่า ระยะเวลาในการคอยของทั้งชายหญิงจะเท่ากันที่ 2 นาที 10 วินาที

แต่จากผมสำรวจ พบว่า มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ไม่ยินดีที่จะใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ชาย เพราะคิดและเคยเจอว่าผู้ชายมีโอกาสทำสกปรกมากกว่า เพราะท่วงท่าการทำธุระ มันมีโอกาสจะพลาดเลอะขอบได้ เพราะแรงปลายของผู้ชายเมื่อยืน จะเริ่มเบาลง

และถ้าเรารวมห้องน้ำให้ใช้ร่วมกัน ก็จะทำให้มี 14 ห้องน้ำ และมี 8 โถ จะพบว่า ระยะเวลาในการคอยเฉลี่ยของผู้หญิงลดลง และของผู้ชายเพิ่มขึ้นเป็น 58 วินาที

ทางออกสำหรับห้องน้ำเก่า

สำหรับห้างสรรพสินค้า หรือหน่วนงานราชการ ที่ต้องมีคนไปใช้ห้องน้ำมากๆ ก็อยากฝากให้พิจารณาเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง เพราะเมื่อสร้างไปแล้ว มันจะปรับแก้ในหายหลัง ทำได้ลำบาก

แต่ถ้าตั้งใจจะปรับแก้ ก็ยังอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ห้องน้ำที่มีอยู่ ให้กลายเป็นห้องน้ำรวม ในช่วงเวลาที่คิวยาวเป็นพิเศษ โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่ หรือแม่บ้าน คอยดูแลทั้งเรื่องความสะอาด และความปลอดภัย ก็เป็นอีกทางออกที่น่าจะทดลองทำดู

ใครได้ประโยชน์บ้าง

  1. แน่นอนว่า ผู้ใช้อย่างผู้หญิงจะได้รับประโยชน์โดยตรง เพราะคอยคิวสั้นลง
  2. แต่หากเรามากับเพื่อน กับครอบครัว ถึงแม้น ไม่ได้เข้าห้องน้ำ ก็จะได้รับประโยชน์กับผู้ที่มาด้วย เพราะทำให้การคอยสั้นลง
  3. เมื่อระยะเวลาการคอยที่ห้องน้ำสั้นลง ตัวร้านค้าเองก็ได้ประโยชน์ เพราะมีลูกค้ามีเวลาเหลือไปดูสินค้าเพิ่มมากขึ้น
  4. เมื่อร้านค้าอยู่ได้ ขายดีขึ้น ตัวห้างเองก็ได้ประโยชน์เพราะเป็นคนปล่อยพื้นที่ให้เช่า ก็ไม่ต้องหาร้านมาเช่าใหม่ แถมมีโอกาสปรับค่าเช่าขึ้นได้
  5. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางอ้อม อย่างครอบครัวของคนที่เปิดร้าน ก็มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ลดโอกาสการเกิดปัญหาเรื่องรายได้ของครอบครัว
  6. นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้น หรือกองทุนของห้าง ก็จะได้รับผลประโยชน์จากส่วนแบ่งกำไรด้วย
  7. เมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ข้อ 1-6 ได้ผลประโยชน์ คุณก็พอจินตนาการต่อได้แล้วล่ะว่า เมื่อทุกคนมีเวลาเพิ่ม มีรายได้เพิ่ม ก็มีโอกาสไปสร้างการใช้จ่าย ไปคิด ไปสร้างอะไรใหม่ๆได้อีก ซึ่งมันก็คือเราทุกคนจะได้ประโยชน์นั่งเอง

บทสรุป

การจะตอบคำถามว่า แล้วห้องน้ำแบบไหนจะดีที่สุดละ เราจะคิดจากเวลาอย่างเดียว มันเพียงพอมั้ย ปัญหาเรื่องความสะอาด ความสบายใจ และความปลอดภัย ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ แต่อย่างน้อย เราก็พอมีทางออกที่จะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

เพราะเวลาเป็นทรัพยกรที่มีค่า ถ้าเราให้ความสำคัญอย่างจริงจัง กับกิจวัตรที่เราทุกคนต้องทำทุกวัน เราทุกคนจะมีเวลาเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้นจะดูน้อยในแต่ละวัน แต่เมื่อรวมกัน ทุกวัน ทุกคน มันจะมากพอที่จะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น

เปลี่ยนส้วม เปลี่ยนโลกได้ จริงๆนะ

เขียนและเรียบเรียงโดย Shaen.net (มองกรรไกร)
อ้างอิง
Eos Wetenschap
Simplemost.com

052 : เศรษฐศาสตร์’ส้วม’

ใส่ความเห็น