พอดีงบ KCAR เพิ่งออก แล้วมีเพื่อนๆพี่ เขียนมาถาม แต่ผมเพิ่งออกจากโรงหนังมา ก็เลยรับปากกว่ากลับบ้านไป จะไปดูตามประสาผม ก็เลยมาเป็นตอนนี้อะนะ

ข้อสงสัย1 : ทำไม Margin ในส่วนเช่ามันตกลงอย่างโหดมาก(22.99>14.8%)  ผมได้ยินครั้งแรก ผมก็ตกใจ แต่ก็คิดว่ามันตกเยอะเกินไป ภายในไตรมาสเดียว

ข้อสงสัย2 : ทำไม Margin ของการขายรถอยู่ดีๆกระโดดขึ้นมาจาก29%>36% ทั้งๆที่ถ้าขายมากขึ้น  Margin ควรจะลดลงเสียมากกว่า

ขออนุญาตเสนอมุมมองที่ผมเห็นนะครับ (ผิดถูกยังไง ขอภัยด้วยครับ)

ต้นทุนค่าเช่าที่งอกขึ้นมา เข้าใจว่าน่าจะไม่พ้น ค่าซ่อม ประกัน ค่าเสื่อม
คราวนี้ขึ้นกับบริษัทแล้วว่า ค่าใช้จ่าย ส่วนนี้จะใส่ไว้ที่ไหน

โดยปกติรถที่เปล่อยให้เช่า ก็จะมีบ้างที่ต้องนำมาซ่อมแล้วให้ลูกค้าเอาไปใช้ต่อ
การที่บริษัทจะบันทึกในส่วนนี้ ก็พอเข้าใจได้

แต่ถ้าถึงช่วงเวลาที่จะเอารถหมดสัญญาเช่ามาขาย ก็ต้องมีการเอารถมาซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพดีขึ้น
เพื่อที่จะขายได้ราคามากขึ้น กว่าเอารถที่เพิ่งเช่ามา แล้วก็มาขายทั้งสภาพแบบนั้นเลย

อันนี้ขอแชร์ปสก ที่เพิ่งผ่านไป ผมซื้อรถตู้มือ 2 ตระเวณขับ 20 กว่าเต๊นท์ (โดยเมียด่า ว่าพามาทำไม ><)
คนขายก็อธิบายให้ฟังว่า รถคันนี้เพิ่งได้มานะ ผมยังไม่ได้ทำเบาะใหม่ ถ้าผมจะเอาเลย เค้าจะให้ราคานึงแต่ถ้าเค้าไปทำเบาะใหม่มา เก็บสีเพิ่ม ผมจะเพิ่มราคาขาย(แพงกว่าต้นทุนที่เค้าทำมานะ) แล้วให้ผมตัดสินใจเอา

ฉะนั้นถ้าบริษัทเอา คชจ ในการซ่อม(เพื่อให้เช่าต่อและซ่อมเพื่อขาย) ไปใส่ในส่วนของการให้เช่า
มันก็อาจทำให้ดูเหมือน margin drop เฉพาะส่วนให้เช่าดูตกลงไปมาก

คราวนี้ ผมลองทดสอบสมมติฐานของผมดู ว่าถ้ารายได้จากการเช่าใกล้ๆเดิม
โดยปกติต้นทุนก็ควรจะใกล้เดิม (สิเนาะ)

แต่สิ่งที่แปลกไปในQ นี้ ยอดขายเพิ่มมาก จาก 227 คัน เป็น 631 คัน แต่ Margin เพิ่มขึ้น มันก็แปลกๆนะ

งั้นผมจะทำการทดสอบสมมติฐานของผม โดยลองโยกคชจ ส่วนเพิ่ม(ที่ไม่ควรจะเพิ่ม)
มาให้อยู้ใรฝั่งขายรถแทนดู ก็จะเป็นดังตารางที่ผมทำนี้

จะเห็นว่า Margin ดู smooth ในช่องที่ผมทำเพิ่มขึ้นมาใหม่ แลดูเป็นเหตุเป็นผลทั้งสองฝั่ง
หรือถ้ามองแบบองก์รวมจาก กำไรก่อนภาษี ก็ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเดิม

ได้ฟังคำบอกเล่าจากคนที่ไป cv แล้วได้สอบถามกับทางบริษัท

คชจ ในส่วนของการเช่าที่เพิ่มขึ้นมา เพราะเป็นค่าเสื่อม+ค่าประกัน ของ “lotใหม่” ที่ยังไม่ได้ปล่อยเช่า
โดยที่เวลาซื้อรถเข้ามาใหม่ จะต้องใช้เวลาเตรียมรถ(ติดตั้งอุปกรณ์+กระบวนการเช็คตรวจสอย)ประมาณ 1 เดือน

ทางบริษัทอาจจะเห็นว่า เดือนนี้ขายรถได้ดีเป็นพิเศษ เลยเอาคชจ มาลงในQนี้เต็มๆไปเลย
เลยทำให้ GP ดูผิดเพี้ยนไปจากปกติ

เพื่อนที่ได้ไป พยายามชี้ประเด็นว่า GP แบบนี้ สำหรับนลท ที่เกาะติด ratio นี้จะทำให้นักลงทุนเข้าใจภาพไปอีกแบบเลยนะบริษัทตอบประมาณว่า “เวลาผ่านไป แล้วคุณจะเข้าใจ ว่าทำไมถึงทำแบบนี้”

แต่ตลาดก็ตอบสนอง(อย่างรุนแรง)ไปแล้ว…
เลยได้บทเรียนว่า “ความผิดหวังไม่มีข้อยกเว้น แม้นหุ้นจะถูกแค่ไหนก็ตามที”

ปล ส่วนตัวได้บทเรียนว่า ถ้าอยากจะซื้ออะไร ก็ไม่ต้องพาเมียไปทุกครั้งก็ได้ ^^!
ปล2 จริงๆ ตั้งใจจะเขียนเรื่องรถเช่าทั้ง 3 ตัวในตลาด แต่งบ KCAR ดันมาออกก่อน ก็เลยโผล่มาเป็นตอนนี้ก่อน

ขอเกริ่นหน่อยละกันว่าทำไม ผมถึงสนใจกลุ่มให้เช่ารถ เพราะ นอกจากมันจะเป็น

– เป็น Trend ของบริษัทในยุคใหม่ ที่เน้นไม่ถือครองทรัพย์สิน แต่ใช้เช่าแทน เงินลงทุนก็ไม่จมในคราวเดียว
–  ได้สิทธิทางภาษี จากพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 604 (พ.ศ. 2559) ลงวันที่ 18 เมษายน 2559 ที่ได้ประกาศเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่จ่ายเพื่อการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็ นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชีสิทธิประโยชน์ > ซึ่งพูดง่ายๆก็คือประหยัดภาษีไปได้ 5 ปี เหมือนได้กำไรเพิ่มมาจากกำไรปกตินั่นเอง

เอาไว้เขียนยาวๆในตอนหน้าอีกทีละกันครับ

หมายเหตุ :โปรดใช้วิจารญาณในการอ่าน เป็นมุมมองของผู้เขียนเอง โดยพิจารณาข้อมูลจากงบที่เป็นสาธารณะประกอบ 

025 : มุมมองงบ KCAR Q1/60
Tagged on:     

ใส่ความเห็น